วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2551

Samsung Ks9A

Samsung Ks9A ภาพล้มทางhor อาการเหมือนกับปรับH.hold ผิด ในเครื่อง National

สาเหตุมาจากสัญญาณ sandcasle ที่ป้อนกลับจากภาคhor ไปยัง mianIC ผิดเพี้ยนสัญญาณตัวนี้จะเข้าไปเปรียบเทียบกับhordrive (ดูจากบล็อคภายในของIC ) อุปกรณ์ที่เสียคือ


Samsung CS-29M17ML

Samsung CS-29M17ML
อาการ เปิดเครื่องแล้วดับเป็นบางครั้ง ชุดจ่ายไฟหยุดทำงาน
สาเหตุ ไฟเกินเป็นบางครั้ง
การแก้ไข ให้เปลี่ยน ไดโอด DZ242 DZ242 เดิม 5.1V เป็น 3.3V

T.V SAMSUNG CS-21K9MA

T.V SAMSUNG CS-21K9MA
อาการ จอมีดไม่มีเสียง
HOR ทำงานไฟจุดไส้หลอดมี เร่งไฟสกรีนเป็นเส้นแบล๊ง ABL ปกติ ไฟคาโถดสูง 180 V เพราะหลอดภาพคัทออฟ แรงไฟ RGB ที่ออกจากขา IC -ONE มี 1 V IK มี 1Vจับต้ว IC ร้อนผิดปกติ
สรุปว่า IC -ONE เสีย IC-ONE เบอร์ TDA 9381 VERSIN 7

SAMSUNG PLANO รุ่น CS-21A8W1

SAMSUNG PLANO รุ่น CS-21A8W1
อาการเสีย เปิดเครี่องไม่ติดมีเสียงดังแต๊กๆจากตัวฟลายแบ๊ค
ไฟ+130V 12V 3.3V 5 V 8V มีปกติ เ
ช็คฟลายแบ๊คก็ไม่ช๊อต วัดไฟเวอร์ก็มีไกล้เคียง
สาเหตุ IC-VER LA 7845 เสียวิธีเช็คให้ถอด IC -VER ออกก่อนแล้วเปิดเครื่องดูจะเปิดเครื่องติดเร่งสกรีนดูจะเห๊นเส้นเดียวกลางจอ
หมายเหตุ ระวัง IC-VER ทั่วไปในท้องตลาดเกรดไม่ดีเพราะไส่ไปตัวแรกเหมือนเดิมตัองใช้ตัวที่ 2 จึง OK

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

การทำแผ่นวงจรด้วย โปรแกรม PROTEL และแผ่นดรายฟิล์ม

การทำแผ่นวงจรด้วย โปรแกรม PROTEL และแผ่นดรายฟิล์ม
ห้อข้อนี้จะเป็นตัวอย่างการนำลายวงจรที่เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมProtel ไปทำแผ่นปริ้นท์ด้วยแผ่นดรายฟิล์ม การทำแผ่นวงจรด้วยแผ่นดรายฟิล์มจำเป็นที่จะต้องทำฟิล์มลายวงจรต้นฉบับที่จะมาถ่ายลงแผ่นดรายฟิล์มให้เป็นฟิล์มเน็คกาทีฟเสียก่อนเราสามารถใช้โปรแกรมPROTELปริ้นท์ลายวงจรแบบเน็คกาทีฟลงกระดาษลอกลายแล้วนำไปถ่ายฟิล์มได้เลย

วิธีset Protel ให้ปริ้นท์เป็นเน็ตกาทีฟ ความจริงวิธีนี้มีหนังสือให้หาอ่านกันเยอะตามเวบก็มี
Protel DXP2004 v7.2.85
1.เมื่อเขียนลายวงจรเรียบร้อยพร้อมจะถ่ายแล้ว เลือกTop Layer
(เพราะทำปริ้นท์หน้าเดียวเลยใช้Layerนี้สะเลย )
2.เลือก Place Fill
3.ลากFillคุมลายวงจรที่เราเขียนให้พอดี 4.คลิ๊กที่ Print Preview










5 คลิ๊กขวาที่หน้า Print Preview แล้วเลือก Configuration
6.ในหน้า PCB Printout Properties คลิ๊กขวาเลือก Create Comprosite จะมีหน้าต่าง Confirm Create Printout ขึ้นมาให้คลิ๊ก OK
7.ที่หน้า PCB Printout properties ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Mutilayer Composite Print จะมีหน้าต่าง Printout Properties ขึ้นมา
















8.ที่หน้าต่างPrintout Properties ให้ลบLayer ที่ไม่ต้องการออก ในที่นี้จะใช้เพียง 3Layerเท่านั้นคือ Top Layer Bottom layer และ Muti Layer การลบก็ให้คลิ๊กLayer ที่ต้องการจะลบแล้วคลิ๊กRemove จะมีหน้าต่าง Confirm Delete Print Layer ขึ้นมาให้คลิ๊ก OK ทำจนเหลือ 3 Layer ที่เราต้องการ เสร็จแล้วให้เรียงLayer โดยให้ Bottom Layer อยู่ด้านบนสุดลองลงมาเป็น Muti Layer และTop Layer ตามรูป การเลื่อนLayer เพื่อเรียงลำดับ Layer ให้คลิ๊กที่Layerที่ต้องการจะเลื่อนแล้วคลิีก Move Up หรือ Move Down เสร็จแล้วคลิ๊ก Show Holes ในOption แล้วคลิ๊ก Close เพื่อปิดหน้าต่าง
9.ในหน้าต่าง PCB printout properties คลิ๊กที่Perferences จะมีหน้าต่าง PCB Print Perferences ขึ้นมา














10.ในหน้าต่าง PCB Print Perferences เปลียนสี Top Layer เป็นสีดำ เปลียนสี Bottom Layer และ Muti Layer เป็นสีขาว และเปลียนสี Pad Holes เป็นสีดำ เสร็จแล้วคลิ๊ก OK จะกลับไปหน้าต่าง PCB Printout Properties คลิ็๊ก OK อีกครั้งจะกลับสู่หน้าต่าง Peview Composite ถ้าทำถูกต้องจะเห็นว่าลายปริ้นท์เป็นเน็ตกาทีฟแล้ว แต่ยังปริ้นท์ไม่ได้ต้องปรับขนาดก่อน

11.การปรับขนาด ในหน้าต่าง preview Composite ให้คลิ๊กขวาเลือก Page Setupจะมีหน้าต่าง Composite Properties ขึ้นมาในหน้าต่าง Composite Properties ที่ Scale mode เลือก Scaled Print ในช่อง Scale ให้ใส่ 1 เสร็จแล้วคลิ๊กOK เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมจะปริ้นท์ลงกระดาษลอกลายเพื่อนำไปถ่ายวงจร
เสร็จขบวนทำแผ่นฟิล์มเน็ตการตีฟแล้วครับ



ขั้นตอนต่อไป เป็นตัวอย่างการเซ็ตปริ้นท์เตอร์ให้พิมพ์ลายวงจรให้ละเอียดที่สุด ถ้าจะให้ดีต้องใช้เลเซอร์ปริ้นท์เตอร์เริ่มต่อเลย
รูปที่1 จากหน้าต่าง PCB Preview Composits จะมีหน้าต่าง Printer Configuraton ขึ้นมาตรง Printer เลือกปริ้นท์เตอร์ที่เราต้องการจะปริ้นท์ แล้วคลิ๊ก Properties จะมีProperties ของปริ้นท์เตอร์ขึ้นมาตรง QualityOption เลือก Top Quality ปริ้นท์แบบละเอียดที่สุด ตรงPaper Option เลือกชนิดกระดาษ เป็นplain Paper แล้วคลิ๊กAdvanced หน้าต่างProperties จะเปลียนไปตามรูป 2
ในProperties ตามรูปที่2 คลิ๊กเครื่องหมายถูกที่ Black Ink Only แล้วคลิ๊ก OK จะกลับไปหน้าต่าง Printer Configuration หากระดาษลอกลายใส่เครื่องปริ้นท์และพร้อมที่จะปริ้นท์ก็คลิ๊ก OK เป็นอันเสร็จขั้นตอนนี้



วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551

อาการ AFTและ DETเสีย

อาการ AFTและ DETเสีย
1.รับภาพไม่ได้ (นี้คืออาการที่เห็นจากหน้าจอนะครับ กดไปช่องไหนๆก็ไม่มีภาพ)
2.รับภาพได้ช่องเดียว (เช่น ช่อง9 ความถี่ 203.25 MHz แต่ชองอื่นๆรับไม่ได้ จูนใหม่ก็ไม่เจออะไรเลยรวมถึงช่อง 9 ด้วยก็จูนไม่เจอ)
3.รับได้สักครู่แล้วก็หายไป จูนใหม่ก็ไม่เจออะไร
4.จูนไม่ล็อก คือเวลาจูนเห็นภาพแต่เครื่องไม่หยุดวิ่งไปเลื่อยๆ
5.เวลาจูนล็อกแต่ไปหยุดตรงที่ภาพลายๆหรือไม่สวย
6.เวลาจูน AUTO ไม่หยุดไม่เห็นภาพเลยเหมือนรับอะไรไม่ได้เลย แต่จูนด้วยมือรับได้แต่ภาพไม่ชัด
เท่าที่ควร
7. รับภาพได้แต่ภาพเลื่อนทาง VER อย่างแรง
8.รับได้เฉพาะ CH.ที่สัญญาณอ่อน( CH.ที่สัญญาณอ่อนภาพชัดสวยปกติ) CH. ที่สัญญาณแรงภาพจะล้มหรือรับได้ไม่สวย
9.จูนแล้วล็อคปกติ แต่หากว่าเปลี่ยนไปช่องอื่นแล้ว หากจะกลับมาดูอีกก็ต้องจูนใหม่อีก)
10. ภาพถูกช่องที่สัญญาณแรงกว่ากวน เช่นเปิดช่อง 9 CH.9 (203.25MHz)แต่รับช่อง 7 CH.7 (189.25MHz)ได้ด้วย
เอาไว้เป็นแนวทางก็แล้วกัน อย่างที่บอกมันต้องมีประสบการณ์ ถ้าเห็นอาการหน้าเครื่องจะฟันธงได้เลยว่า AFT+DETเสียหรือไม่เสีย ตัวอย่างเช่นTV SAMSUNG CB-3351..จูนไม่ล็อค..รับไม่ครบช่อง..ฯลฯ C ที่คร่อมในกระป๋องIF AFT+DET เสียซะแล้ว ***ใช้ 68 PFคร่อมแทนได้เลย แล้วก็ไปวัดไฟที่ขา 48.(AFT OUT)แล้วจูนกระป๋องให้ V.ที่ขา 48ได้ตามวงจร(4.9V.)หรือต้องไม่ต่ำกว่า 4.5V.ก็ใช้ได้เลย ทีนี้ก็
จูนภาพใหม่ถ้าภาพไม่สวยเท่าที่ควรก็ไปแต่งที่กระป๋องอีกทีให้สวยๆก็เป็นอันจบแล้ว
นี้คือวิธีจูนกระป๋อง AFT แบบระดับมืออาชีพ เอาหลักการนี้ไปใช้ได้กับทุกเครื่อง
ส่วนค่า C ค่าก็แตกต่างกันไปครับแต่ละรุ่นก็ใช้ค่าต่างๆกันไปลองหาๆดู
วิธีปรับ IF ในบางเครื่องที่ปรับแล้วไม่ยอมได้สักที ให้ถอดลอยขา VT ที่จูนเนอร์แล้วนำ VR มาต่อแทนปรับไฟห้รับภาพได้ชัดที่สุดแล้วใช้มิเตอร์วัดไฟขา AFC ของIC ปรับคอยล์จนภาพเสียงชัดแล้วหมุน VR แล้วไฟ จะต้องเปลี่ยนแปล่งในขนะที่ภาพชัดกับไม่ชัด อยู่ที่ระหว่าง0V จนเกือบถึง ไฟที่เลี้ยง IC IF ถ้าปรับแล้วไฟAFC ไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก IF ตัวนี้ใช้ไม่ได้ครับแต่ถ้าได้ ให้กดจูนได้เลยแล้วหมุน VR ไปมานิดหน่อยก็จะล็อกช่องได้แล้ว ค่อยประกอบตามเดิม แล้วจูนช่องแล้วปรับคอยล์นิดหน่อยให้ได้ภาพและเสียงดีที่สุดก็ใช้ได้แล้ว
ไดสตาร์กระป๋องเบอร์ A8199-92227 ใช้ Cค่า 68 PF ไดสตาร์กระป๋องเบอร์ 600-002 ใช้ Cค่า 68-75 PF
ไดสตาร์ กระป๋องเบอร์ 219VQ ใช้ C ค่า 27 PF โกลด์สตาร์ กระป๋องเบอร์ 498U ใช้ C ค่า 68-75 PF
โกลด์สตาร์ กระป๋องเบอร์ 651M ใช้ C ค่า 7 PF โกลด์สตาร์ กระป๋องเบอร์ E08L ใช้ C ค่า 68-75 PF โกลด์สตาร์ กระป๋องเบอร์ E08N ใช้ C ค่า 33 PF โกลด์สตาร์ กระป๋องเบอร์ 327Q ใช้ C ค่า 68 PF
โกลด์สตาร์ กระป๋องเบอร์ 327M ใช้ C ค่า 33 PF ซัมซุง กระป๋องเบอร์ 513-800 ใช้ C ค่า 82-100 PF
ซัมซุง กระป๋องเบอร์ 60200 ใช้ C ค่า 68-75 PF ซัมซุง กระป๋องเบอร์ 60202 ใช้ C ค่า 75 PF
ทอมสัน กระป๋องเบอร์ 4019-7700 ใช้ C ค่า 56 PF ทอมสัน กระป๋องเบอร์ 8040 ใช้ C ค่า 56 PF
ทอมสัน กระป๋องเบอร์ 27505 ใช้ C ค่า 68 PF ทอมสัน กระป๋องเบอร์ 27521 ใช้ C ค่า 82-100 PF
ทอมสัน กระป๋องเบอร์ 87327 ใช้ C ค่า 68 PF ทอมสัน กระป๋องเบอร์ 87307 ใช้ C ค่า 100 PF
อินเตอร์เนชั่นแนล กระป๋องเบอร์ 110-020 ใช้ C ค่า 75 PF
อินเตอร์เนชั่นแนล กระป๋องเบอร์ 180-020 ใช้ C ค่า 75 PF
อินเตอร์เนชั่นแนล กระป๋องเบอร์ 016-001 ใช้ C ค่า 68 PF
ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 54141 ใช้ C ค่า 33 PF ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 91562 ใช้ C ค่า 39 PF
ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 91581 ใช้ C ค่า 82 PF ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 54111 ใช้ C ค่า 68 PF
ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 21641 ใช้ C ค่า 82 PF ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 21631 ใช้ C ค่า 68 PF
ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 54121 ใช้ C ค่า 47 PF ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 54101 ใช้ C ค่า 7 PF
ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 21611 ใช้ C ค่า 27 PF ฟิลลิปส์ กระป๋องเบอร์ 56011 ใช้ C ค่า 75 PF
มิตซูบิชิ กระป๋องเบอร์ 3P17-402 ใช้ C ค่า 10 PF มิตซูบิชิ กระป๋องเบอร์ 3P17-501 ใช้ C ค่า 33 PF
มิตซูบิชิ กระป๋องเบอร์ 3P17-502 ใช้ C ค่า 100 PFโตชิบา กระป๋องเบอร์ TRF1445R ใช้ C ค่า 75 PF
โตชิบา กระป๋องเบอร์ 1177-1077 ใช้ C ค่า 75 PF ธานินทร์ กระป๋องเบอร์ TT105 ใช้ C ค่า 56 PF
ธานินทร์ กระป๋องเบอร์ ET504 ใช้ C ค่า 56 PF ธานินทร์ กระป๋องเบอร์ ET505 ใช้ C ค่า 56 PF
ธานินทร์ กระป๋องเบอร์ 1302-A00 ใช้ C ค่า 75 PF ชาร์ป กระป๋องเบอร์ D01510 ใช้ C ค่า 33 PF
ชาร์ป กระป๋องเบอร์ D0130C ใช้ C ค่า 75 PF ชาร์ป กระป๋องเบอร์ D0152C ใช้ C ค่า 47 PF
ไอว่า กระป๋องเบอร์ 667V5 ใช้ C ค่า 33 PF ไอว่า กระป๋องเบอร์ 653V8 ใช้ C ค่า 22 PF
ไอว่า กระป๋องเบอร์ 656V ใช้ C ค่า 22 PF ไอว่า กระป๋องเบอร์ 651V7 ใช้ C ค่า 100 PF
เนชั่นแนล กระป๋องเบอร์ V034 ใช้ C ค่า 37 PF โอเรี่ยน กระป๋องเบอร์ 0017 ใช้ C ค่า 22 PF
โอเรี่ยน กระป๋องเบอร์ 3606-005TC ใช้ C ค่า 68 PF ซินโค กระป๋องเบอร์ 1302-A00 ใช้ C ค่า 75 PF
เจวีซี กระป๋องเบอร์ 40359 ใช้ C ค่า 82 PF เจวีซี กระป๋องเบอร์ 86053 ใช้ C ค่า 82 PF
แอนฟิลด์ กระป๋องเบอร์ 4019 ใช้ C ค่า 56 PF แอนฟิลด์ กระป๋องเบอร์ R22E790 ใช้ C ค่า 100 PF
แอนฟิลด์ กระป๋องเบอร์ 64WP ใช้ C ค่า 100 PF ฮิตาชิ กระป๋องเบอร์ 614-7EC ใช้ C ค่า 39 PF
แฟมิลี่ กระป๋องเบอร์ E217 ใช้ C ค่า 100 PF แฟมิลี่ กระป๋องเบอร์ A530 S612 ใช้ C ค่า 75 PF
เอ็นอีซี กระป๋องเบอร์ 6022 ใช้ C ค่า 100 PF เอ็นอีซี กระป๋องเบอร์ 6043 ใช้ C ค่า 100 PF

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

การเช็คฟลายแบคว่าดีหรือเสียด้วยวิธีง่ายๆแต่ได้ผลดี

การเช็คฟลายแบคว่าดีหรือเสียด้วยวิธีง่ายๆแต่ได้ผลดี
การทดสอบฟลายแบควิธีนี้เท่าที่ใช้มาได้ผลดีทีเดียว แต่ช่างที่ทำการทดสอบFBTด้วยวิธีนี้ควรมีทักษะผ่านงานซ่อมทีวีมาพอสมควร เพราะต้องใช้การวิเคราะห์ประกอบด้วยครับ ... ช่างบางท่านอาจอยู่ในสถานที่ห่างไกล หาเครื่องมือเช็คFBTยาก.....สำหรับวิธีนี้มีเพียงทีวีเครื่องเล็กๆสักเครื่องก็เพียงพอแก่การประยุกต์เป็นเครื่องมือเช็คจำเป็นได้แล้ว...ขั้นตอนการเตรียมเช็ค นำทีวีขนาดใดก็ได้ที่เปิดติด มีแสง มาพันสายไฟบนแกนฟลายแบคดังภาพ (ควรใช้14"จะสะดวกที่สุดครับ ในเครื่องต้นแบบใช้ national A1 เพราะวงจรภาคhor output ทนทานเหมาะสมในงานนี้...เสียขึ้นมาก็ซ่อมง่าย..และไม่โตมากนัก.. เหมาะที่จะนำมาใช้ประจำโต๊ะซ่อม












จากนั้นก็ทำวิธีเดียวกันกับฟลายแบคที่ต้องการทดสอบ













ต่อสายถึงกัน














เริ่มทำการทดสอบ โดยเปิดทีวีได้เลย ...
- หากฟลายแบคที่นำมาทดสอบดี เมื่อนำหลอดนีออนเข้ามาใกล้ขดไฟแรงสูง หลอดนิออนจะสว่าง
- หากฟลายแบคเสียก็จะแสดงอาการออกมาหลายๆอย่าง เช่น....ขดไฟแรงสูงทะลุก็จะได้กลิ่นไหม้ หรือมีความร้อนบริเวณนั้น ..... ฟลายแบคช็อตรอบก็จะทำให้ทีวีที่นำมาทดสอบภาพลดความสว่างหรือภาพหด หรือหากวงจรโปรเทคชั่นในทีวีที่นำมาทดสอบมีความไวมาก ก็อาจตัดไปเลย ฯลฯ ..
ชึ่งอาการต่างๆ เพื่อนช่างต้องฝึกสังเกตดูเองแล้วจะเข้าใจ...เป็นอันว่าเช็คได้แน่นอน รวดเร็ว และแม่นยำเกินคุ้มครับ..สำหรับ เพื่อนช่างที่อยู่ไกลแหล่งอะไหล่ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าฟลายแบคในเครื่องเสียจริงหรือไม่ ใช้วิธีนี้ก็จะสรุปผลฟันธงได้ 90 % ว่าฟลายแบคเสียจริงหรือเปล่า ก็จะประหยัดเงินค่าอะไหล่ ประหยัดเวลาในงานซ่อมอีกด้วย













หากต้องการทดสอบให้ลงลึกไปอีก ก็สามารถวัดแรงไฟที่ขาต่างๆของฟลายแบคได้ด้วยมิเตอร์ธรรมดา ( แต่แรงไฟจะต่ำกว่าสภาพใช้งานจริง ให้วัดที่ขดใดขดหนึ่งเป็นหลัก แล้วเปรียบเทียบแรงดันกับขดอื่นๆ ...เมื่อเริ่มชำนาญแล้วก็จะฟันธงได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์ครับ )..นอกจากนั้นยังสามารถอาศัยหลักการเดียวกัน พันรอบแกนflybackในทีวีเครื่องอื่นที่เสีย เพื่อจะเช็คโหลดของเครื่องนั้นๆในวงจรได้อีกด้วย